E-business infrastructure
หมายถึงการรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กร รวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้า ของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน
Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึง กระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business ด้วย
ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components
1. Application - ไม่สนใจว่าจะใช้อะไร,เป็นการจัดการให้ประสบความสำเร็จ
2. Software - Web,linux,database / ใช้ Software อะไรในการจัดการบริหาร
3. Transport - ติดต่อสื่อสาร,Protocal,TCP/IP
4. Storage - ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ,ฮาร์ดดิส,แรม เก็บไว้ที่ไหนอย่างไร
5. Content and Data - การจัดการบริหาร,Intranet,Extranet
Internet technology
Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่ เชื่อมต่อทั่ว โลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไร เกิดขึ้น การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอปุกรณ์มือถือที่มี ผู้ใช้ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรม ประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client /Server
Intranet applications
อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management โดยการตลาดเครือข่ายอินทราเน็ตมีข้อได้เปรียบต่อดังนี้
- Reduced product lifecycles – as information on product development and
marketing campaigns is rationalized we can get products to market faster.
- Reduced costs through higher productivity, and savings on hard copy.
- Better customer service – responsive and personalized support with staff
accessing customersover the web.
= Distribution of information through remote offices nationally or globally
เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง การประยุกต์ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตโปรแกรมนั้น ข้อมูลซอฟต์แวร์จะจำกัด การเข้าถึงของ บริษัท โดยแสดงข้อมูลภายในให้กับผู้ใช้ภายนอกเช่น ลูกค้าและซัพพลาย
เออ สามารถจำกัดการเข้าถึงข้อมูล และมักจะมีความสามารถในการสั่ง ซื้อสินค้าและบริการตรวจสอบสถานะการสั่งซื่อบริการลูกค้าร้องขอได้มากขึ้น
ข้อได้เปรียบเครือข่ายอินทราเน็ต
1. วงจรการผลิตลดลง
2. ลดค่าใช้จ่าย
3. ได้ผลผลิตเร็ว มีประสิทธิภาพ การบริการลูกค้าเร็ว
4. การกระจายข่าวสารง่ายและรวดเร็ว
Firewalls
ใช้ป้องกันการโจมตี การบุกรุก จากผู้ไม่ประสงค์ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อมีการสร้างอินทราเน็ตหรือเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์
Internet
หมายถึง ลักษณะของการเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งเล็กและใหญ่จำนวนมากเข้าด้วยกัน โดยมีข้อกำหนดว่าทุกเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกัน จะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของการเชื่อมต่อ(โปรโตคอล) ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเครือข่ายแบบนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า TCP/IP
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser)
คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
- Internet Explorer
- Mozilla Firefox
- Google Chrome
- Safari
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
Web technology
คำว่า World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ตโดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup
Language) หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับโปรโตคอล (Protocal) - มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล
วิวัฒนาการของเว็บไซต์
Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Web master ) เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ สำหรับการพฒันา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป โดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล ต่อมาเริ่มมี การนำเอา Java Script และภาษา PHP (Hyper Text preprocessor)
มาใช้งาน
Web 2.0 = Read/Write, Dynamic Data through Web Services
Web 2.0 คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ จาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เราเข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ้งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้น เมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนาน
Web 3.0 = Read/Write/Relate, Data with structured Metadata + managed identity
Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลา เป็ น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็ นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่าง เป็นระบบมากขึ้น Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segment ที่มีบุคคลแค่คนเดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล เช่น อยากไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ เมื่อค้นข้อมูลแล้วเว็บไซต์จะ เชื่อมโยงข้อมูลทั่งหมดออกมา ไม่ว่าจะจากสายการบินต่างๆ แพ็กเกจไหนดีที่สุด และนำมาเช็ค กับ ตารางของผู้ใช้ว่าตารางเวลาตรงกันไหม หรือจะนำไปเช็คกับตารางของเพื่อนที่ญี่ปุ่นใน Social Network เพื่อนัดเวลาที่ตรงกันเพื่อพบปะทานข้าวร่วมกันก็ได้ ในยุคสื่อดิจิตอล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น