วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สรุป บทที่ 8



E-MARKETING


E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการ ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครืjองมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและ สะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ พีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการ ตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อ บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง

รูปภาพ
Distinguishing between e-marketing, e-business LOGO and e-commerce
รูปภาพ
ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่นเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้ าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ104 ภาษาสามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่นราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่นจำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มนึ้เรื่อยๆคุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น 
Click and Click 
     เป็นการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตออย่างเดียว ไม่มีธุรกิจในโลกจริง
รูปภาพ

Click and Mortar
     เป็นรูปแบบที่มีธุรกิจจริง (Real) อยู่แล้วแต่ขยายมาทำในอินเทอร์เน็ต
รูปภาพ
การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์ 
กำหนดเป้ าหมาย
ศึกษาค่แข่ง
สร้างพันธมิตร
ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์
การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ผ่าน http://www.Truehits.net 
เก็บข้อมูลผู้ที่เข้ามาเว็บไซต์ เชิงลึก (วันเวลา, ประเทศ)
สมัครฟรี.!
เว็บเล็กๆเริ่มต้นอย่างไร? 
โฟกัสกล่มุ ลูกค้าที่ชัดเจน เว็บเล็กแต่มีคุณภาพ (Niche Market) ถ้าเหมือนต้องทำให้“ดีกว่า”
สร้างความแตกต่างให้ชัดเจน (Differentiate)
เริ่มต้นทำเป็นเจ้าแรก (First Mover) Move Fast
สร้างสงั คมให้เกิดขึ้น (Community)
สร้างบริการต่างๆ ให้ตรงใจกับลูกค้า (Stickiness)
PR ตรงกล่มุ เป้ าหมายที่ชัดเจน (Offline+Online)

การสร้างเอกลักษณ์ของเว็บไซต์ (Web Identity) 

     การสร้างให้คนรู้จักและจดจำ Brand ของเว็บไซต์คุณก็ หมือนกับ สร้างความคุ้นเคยของลูกค้าที่มีต่อ
เว็บไซต์ของคุณ
การวางคอนเซพท์ของตัวเว็บไซต์
สไตล์การเขียนที่เป็นเอกลักษณ์
มีความสอดคล้องกับแบรนด์สินค้าหรือบริการหลักเว็บไซต์ของ Hutch (www.Hutch.co.th)
ลักษณะการออกแบบเว็บไซต์
- การใช้สีสัน
- การวางรูปแบบบหรือเลย์เอาท์
- การใช้โลโก้ที่มีความโดดเด่น
ทำไมต้องใช้ Search Engine?จากข้อมูลของ Wall Street Journal ได้บอกไว้ว่า
85% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลก ใช้ Search Engine 
87% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต จะหาเว็บไซต์จาก Search Engine (ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Georgia Tech) 
70% ของการซื้อขายอีคอมเมิร์ซเริ่มต้นจากการใช้เสิร์ชค้นหา(Source: Forrester/IAB)

1. Natural Search Engine Optimization (SEO)

ข้อดี
ฟรี Traffic 
ผู้ชมจะคลิกในส่วนนี้สูงถึง 60-70% 

ข้อเสีย
ใช้เวลานานในการขึ้นอันดับ
สามารถเลือกจำนวน keyword ได้จำกัดแค่ 2-5 คำต่อเนื้อหาหนึ่งหน้าของเว็บเพจ
ไม่สามารถรักษาสถานะของอันดับได้แน่นอน
ไม่สามารถวัดค่า ROI ที่แน่นอนใช้เวลานานกว่าจะรู้ผลของแต่ละคำ

2. Paid Search Advertising (Pay Per Click Advertising)
ข้อดี
พร้อมใช้ในเวลาไม่ถึง 15 นาที
แม้ว่า Search Engine จะเปลี่ยนแปลงการจัดใหม่ อันดับของคุณจะคงที่อยู่เสมอ 
สามารถเลือกจำนวน keyword ได้ไม่จำกัด 
ควบคุมค่าใช้จ่าย และสามารถวัดค่า ROI ได้แม่นยำและใช้เวลาไม่นาน

ข้อเสีย
ต้องเสียเงินทุกครั้งเมื่อมีคนคลิก Ad
ต้องใช้ทักษะที่ค่อนข้างสูงในการบริหาร Ad
ลูกค้าจะหาเว็บคุณเจอได้อย่าไร?
รูปภาพ
วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online 
จัดทำโฆษณาแบนเนอร์ โฆษณาตามเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมาย
แลกลิงค์กับเว็บอื่นๆ (เขียนเมล์ไปขอ) – Barter Banner

รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์
ขายโฆษณาออนไลน์
ขายสินค้า E-Commerce
ขายบริการหรือสมาชิก
ขายข้อมูล (Content)
การจัดกิจกรรม, งาน
การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
การรับพัฒนาเว็บไซต์

6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ 
C ontent (ข้อมูล)
C ommunity (ชุมชน,สังคม)
C ommerce (การค้าขาย)
C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
C onvenience (ความสะดวกสบาย)

สรุป บทที่ 4

E-business strategy

ความหมายของ Strategy        
การกำหนดทิศทาง และ แนวทางในการปฏิบัติ ในอนาคต ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้

ความหมายของ E-Strategy
วิธีการที่จะทำให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการนำการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร

Business Strategy
 คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้ แบบจำลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ ทำยังไงให้ การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้ แล้วทำยังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด ขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้

   -Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
   -Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
   -Strategy definition : กลยุทธ์การกำหนดนิยาม
   -Strategy implementation : กลยุทธ์การดำเนินงาน

กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ    

   -ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่ 
   -กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
   -กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
   -เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
   -จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร 
 การใช้ช่องทางการค้าที่ถูกต้อง สามารถสรุปได้ดังนี้
    -เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง
    -ใช้ช่องทางที่ถูกต้อง 
    -ใช้ข้อความที่จะสื่ออย่างถูกต้อง 
    -ใช้ในเวลาที่ถูกต้อง 

E-channel strategies
E-Channel  ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า  โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกำหนดวิธีการที่ใช้ทำงานร่วมกับช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์   E-Business
multi-channel e-business strategy
กลยุทธ์หลายช่องทาง e - business เป็นการกำหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง และ ช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการ และ ทุกๆกลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกัน
S - Social คือ สภาพและกระแสสังคมและชุมชนที่ล้อมรอบองค์กร
T - Technology คือ แนวโน้มของพัฒนาการด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์การ
E - Economic คือ สภาพและแนวโน้มเศรษฐกิจ
P - Politics คือ สภาพของการเมือง รวมทั้งกฎหมายและนโยบายทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการดำเนิน  งานขององค์การ
I - International คือ แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์การ
Strategy Formulation
   -การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม
   -การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน
   -การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยุทธ์
   -การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ

Strategic Implementation
   -การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
   -การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการ
   -การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้าง ระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การและ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ

Strategic Control and Evaluation
   -การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
   -การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ทีอาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์

แผนกลยุทธ์(Strategic Plan )คือ
   -เอกสารที่ระบุวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ต่างๆ
   -เป็นแผนระยะยาวที่บ่งบอกทิศทางการดำเนินขององค์กร
   -เป็นแผนที่จัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์สภาพภายนอก

สรุป บทที่ 5




 E-COMMERCE


ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)

          คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสาร 


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce)
     คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง ขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
    -การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
    -การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
    -การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
    -การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
    -รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
    -การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่   

(M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
    1.ระบบเครือข่าย (Network)
    2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
    3.การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
    4.การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
องค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
    1.การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
    2.การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
    3.กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
    4.การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
    5.การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion

Business Model of E-Commerce
  Brick – and – Mortar Organization
    องค์กรแบบดั้งเดิมที่ดำเนินงานโดยที่ไม่ได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต Virtual Organization  
    องค์กรที่ดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์ล้วนๆ Click – and – Mortar Organization
    ดำเนินธุรกิจทางด้านE-commerceบางอัน ธุรกิจหลักคือมี E-commerce ด้วยมีหน้าร้านด้วย

ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
    1.Business-to-Business (B2B)
    2.Business-to-Customer (B2C)
    3.Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
    4.Customer-to-Customer (C2C)
    5.Customer-to-Business (C2B)
    6.Mobile Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
    1.Intrabusiness (Organization) E-Commerce
    2.Business-to-Employee (B2E)
    3.Government-to-Citizen (G2C)
    4.Collaborative Commerce (C-Commerce)
    5.Exchange-to-Exchange (E2E)
    6.E-Learning

E-Commerce Business Model
    แบบจำลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ รวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
     ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้

  ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
     ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerceอื่น ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัว และมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว

  ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
     ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า  ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้าง ร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม

  ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
     การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน

  บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
     บริการจากภาครัฐมักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน  เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐฟ

  ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
     ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้าปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก

  ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
      ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขายผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อหรือผู้ขายให้เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้ ตลาด ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ

  ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
      รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า

ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี

    1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
    3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
    4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
    5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
    6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
    7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
    8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย

    1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
    2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
    3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
    4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
    5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

สรุป บทที่ 9



E-Government 

วามหมาย e-government
 e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการ คือ
     1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
     2.ทําให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
     3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
     4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกวาเดิม
 e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ เครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทําให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนํามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สําคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจาก การเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนําไปสู่การลดคอรัปชัน หากเทียบกับ e-commerce แล้ว egovernment คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet  มีระบบความปลอดภัย เพื่อทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่ e-services เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ

        หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมันคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชําระเงินค่าบริการธุรกิจก็สามารถดําเนินการ ค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญในการให้บริการตามแนวทาง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

สรุป บทที่ 7



SCM, ERP, CRM



     ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบสินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ


ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
     เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้ งเดิมที่ต้องการสร้างผลกําไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชํานาญในการทํางานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทํางานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน


ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
     ในระยะนี้ องค์กรจะเริ่มจัดตั้ งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
     ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทําให้มีการติดต่อประสานงานเชื่่อมโนงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้ น การทํางานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
     ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสําคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทํางานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทํางานเดียวกัน เพื’อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนําส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน


การบริหารจัดการซัพพลายเชน พิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กร
   ใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
          1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)
          2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Demand-management interface capabilities)
          3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)


   ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
          1. ปัญหาจากการพยากรณ์
          2. ปัญหาในกระบวนการผลิต
          3. ปัญหาด้านคุณภาพ
          4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
          5. ปัญหาด้านสารสนเทศ
          6. ปัญหาจากลูกค้า
     ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)  เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดําเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทําธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
     การใช้บาร์โค้ด (Bar code) บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้ จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner  บาร์โค้ดจึงทําหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทําการผลิต เลขหมายเรียงลําดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตําแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุมการหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการรับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่สําคัญการติดบาร์โค้ดถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความซํ าซ้อนในการทํางาน

       ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกรรมประจําวัน และยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
รูปภาพ
     ระบบ CRM (Customer Relationship Management) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่องค์กรนํามาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้ากับองค์กรตลอดวงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การตลาด การขาย การให้บริการ และการสนับสนุน โดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากร โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ demain chain management  ผ่านการจัดโปรแกรมเพื่อจูงใจลูกค้า เช่น การสะสมคะแนน การให้บริการตอบคําถาม (call center)  การให้สิทธิประโยชน์ หรือส่วนลดต่างๆ เป็นต้น

สรุป บทที่ 6



SUPPLY CHAIN MANAGEMENT



Supply Chain Management หมายถึง
           การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า

แก่นสำคัญของ Supply Chain Management
       แม้ว่าการผลิตจะมีความซับซ้อนและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ยากต่อการควบคุม แต่หน้าที่ทางการผลิตของทุกองค์กรจะมีหลักการพื้นฐานต่างๆ เหมือนกัน
        สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
          1. วัตถุดิบ (Materials)
          2. สารสนเทศ (Information)
     การบริหารการผลิตจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อกระบวนการผลิตเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด และมีระบบที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ยิ่งมีระบบย่อยหรือแยกส่วนมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้นเท่านั้น

ปัญหาคือความสนใจที่แตกต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
     -     ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบและมีราคาถูก
     -     พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คำสั่งที่ถูกต้อง
     -     ฝ่ายจัดซื้อต้องการได้วัตถุดิบที่ถูกต้อง มีคุณภาพ
     -     ผู้จำหน่ายวัตถุดิบต้องการคำสั่งซื้อที่ถูกต้องเพื่อจะได้จัดส่งได้ถูกต้อง
     -     ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง 

 ประโยชน์ของการทำ SCM
     1.  การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
     2.  ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
     3.  เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
     4.  ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
     5.  ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
     6.  ปรับปรุงการบริการลูกค้า

การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการจัดการด้าน Supply Chain
           Supply Chain Management คือ การจัดการเชื่อมกิจกรรมต่างๆที่สัมพันธ์ กันระหว่างผู้ผลิต (Supplier) ผู้จัดจำหน่าย(Distributor) และลูกค้า (Customer) กลยุทธ์ทางด้าน Supply Chain นั้นได้แก่ ความพยายามที่จะผูกลูกค้า ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายกับธุรกิจ เรียกว่า Lock-inCustomers หรือ Lock-in Suppliers เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไปทำธุรกิจกับผู้อื่น (Switching Cost) มีสูงขึ้น